คำว่า Conscious หมายถึง การมีจิตสำนึก ดังนั้น Consciouslites จึงหมายความถึงกลุ่มผู้บริโภคที่บริโภคสินค้าและบริการ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม รูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างมีจิตสำนึกนี้จึงถูกเรียกว่า Conscious Lifestyles ซึ่งรูปแบบการดำเนินชีวิตดังกล่าวกำลังได้รับความสนใจจากผู้บริโภคเป็นอย่างมาก จะเห็นได้จากผลการสำรวจของ Hakuhodo Institute of Life and Living ASEAN (HILL ASEAN) บริษัทโฆษณาที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศญี่ปุ่น ที่ได้ทำการวิจัยศึกษาวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มอาเซียน ในไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ เมื่อปี พ.ศ. 2563 โดยเจาะลึกไปถึงไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต และมุมมองของผู้บริโภคในอาเซียนที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคสินค้าและบริการ พบว่า...
.
ผู้บริโภคกว่า 90% ของกลุ่มตัวอย่างรู้จักพฤติกรรมการบริโภคแบบ Conscious Lifestyles โดย 80% ของคนในกลุ่มนี้ได้นำพฤติกรรมนี้มาปรับใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ซึ่ง 54% ของผู้บริโภคที่ได้รับการสำรวจ Conscious Lifestyles แบบ Proactive หรือดำเนินชีวิตโดยได้รับอิทธิพลจากคนรอบข้าง ซึ่งประเทศที่ได้รับค่าเฉลี่ยสูงสุดในรูปแบบเชิงรุกได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และ ฟิลิปปินส์ ตามลำดับ และ 32% ของกลุ่มตัวอย่าง มีพฤติกรรมแบบมุ่งหวังให้สังคม และสิ่งแวดล้อมดีขึ้นอย่างแท้จริง ซึ่งประเทศที่ได้รับคะแนนสูงสุด ได้แก่ เวียดนาม ไทย และฟิลิปปินส์ ตามลำดับ โดยปัจจัยที่ทำให้ผู้บริโภคเหล่านี้เห็นความสำคัญของการดำรงชีวิตแบบคำนึงถึงสังคม และสิ่งแวดล้อมนั้นค่อนข้างหลากหลาย โดยส่วนมากจะทำเพื่อคนที่เรารัก ครอบครัว ถิ่นที่อยู่อาศัย หรืออาจทำเพราะตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น ภาวะโลกร้อน น้ำท่วม มลพิษ เป็นต้น หรือบางคนอาจทำเพื่อสร้างความรู้สึกดีให้กับตนเอง สร้างการยอมรับของสังคม และตามกระแสสื่อออนไลน์ (Social Media)
.
นอกจากนี้ปัจจัยในการเลือกซื้อสินค้าจากแบรนด์ของผู้บริโภคกลุ่มนี้ คือ การเลือกแบรนด์ที่ให้ความสำคัญกับสังคมและสิ่งแวดล้อม โดย 85% บอกว่าต้องการให้แบรนด์สนับสนุน Concious Lifestyles และคำนึงถึงผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และพบว่า 82% ยินดีที่จะเปลี่ยนไปบริโภคสินค้าแบรนด์อื่นที่สนับสนุน Concious Lifestyles นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างถึง 81% เต็มใจที่จะจ่ายเงินเพิ่มให้กับสินค้าที่ใส่ใจสังคม และสิ่งแวดล้อม ผลการศึกษานี้ กำลังตอกย้ำให้เห็นแล้วว่า ผู้บริโภคมีความใส่ใจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น
.
แน่นอนว่า การทำธุรกิจจำเป็นต้องตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค เมื่อความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยน ธุรกิจที่ปรับตัวไม่ทันอาจได้รับผลกระทบอย่างหนัก แต่หากสามารถปรับตัวได้ทันก็จะอาจทำให้ธุรกิจสามารถสร้างการเติบโตรูปแบบใหม่ได้ และจะยิ่งดีกว่าหากการเปลี่ยนแปลงนั้น ไม่ได้สร้างเพียงแค่ผลกำไร แต่ยังสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เพราะโลกที่ดีกว่าไม่อาจเกิดขึ้นได้จากกำลังของใครคนใดคนหนึ่ง หากแต่ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน ให้โลกในวันพรุ่งนี้ เป็นโลกที่ดีกว่าวันนี้
.
Analyzed by BRANDigest
.
Comments