ไม่ว่าจะในฐานะประชาชนหนึ่งคน ธุรกิจหนึ่งธุรกิจ องค์กรหนึ่งองค์กร หรือประเทศหนึ่งประเทศ เราต่างกำลังเผชิญหน้ากับเงื่อนไขมากมาย เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของ COVID-19 ลำพังการใช้ชีวิตปกติก็ไม่ใช่เรื่องง่ายอยู่แล้ว แต่ภายใต้เงื่อนไขเหล่านั้นก็ยังต้องทำมาหากินให้มีรายได้ในการดำรงชีวิต ต้องดูแลธุรกิจและพนักงาน ต้องบริหารจัดการประเทศที่มีประชากร 66 ล้านคน ซึ่งนับเป็นโจทย์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นกว่าหลายเท่าตัว
เมื่อพูดกันถึงเรื่องการบริหารจัดการประเทศ ซึ่งเทียบได้กับองค์กรขนาดใหญ่องค์กรหนึ่งที่ต้องควบคุมโรค ต้องดูแลคนจำนวนมหาศาลให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ และยังต้องขับเคลื่อนไปข้างหน้าในเวลาเดียวกัน ควบคุมด้วยระบบสาธารณสุข คงมีเสียงจำนวนไม่น้อยที่ตั้งคำถามว่า ตัวเลขผู้ติดเชื้อที่น้อย เป็นเพราะจำนวนที่ตรวจหรือเปล่า ที่ผ่านมาประเทศไทยมีการตรวจยืนยันเชื้อไวรัส ด้วยวิธีการตรวจหารหัสพันธุกรรม (RT PCR) ไปแล้ว 71,860 ตัวอย่าง (ข้อมูล ณ วันที่ 4 เมษายน) ซึ่งเป็นวิธีการตรวจมาตรฐานที่ใช้ทั่วโลกและองค์การอนามัยโลกยอมรับ ตอนนี้ความสามารถในการตรวจของทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งประเทศ รวมกันได้วันละ 20,000 รายและอยู่ในระหว่างการดำเนินการขยายให้ได้ หนึ่งห้องตรวจ หนึ่งจังหวัด ภายในสิ้นเดือนเมษายนนี้ เพื่อเพิ่มสมรรถนะในการตรวจให้ได้มากขึ้น ขับเคลื่อนด้วยมาตรการการเงิน ไม่ว่าจะเป็นมาตรการช่วยเหลือ SMEs ในการเลื่อนชำระหนี้ 6 เดือน ออกเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ หรือให้เงินเยียวยากับผู้ที่ได้รับผลกระทบ ย่อมมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย มีทั้งผู้ที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ แต่เราต่างก็รู้ดีอยู่แก่ใจว่า แทบจะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย กับการที่จะทำให้คนมากกว่า 66 ล้านคนพึงพอใจในทุก ๆ การเคลื่อนไหว หรือแม้แต่การไม่เคลื่อนไหวก็ตาม หากได้วิเคราะห์เรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้นก็คงจะสามารถมองเห็นได้ ทั้งด้านบวกและด้านลบ แต่ก็คงจะเปล่าประโยชน์ หากเราจะมานั่งหาคนผิด หรือโทษว่า ใครเป็นผู้ร้ายในสงครามไวรัสครั้งนี้ การช่วยให้ประเทศไทยก้าวฝ่าวิกฤต ต้องอาศัยความสามัคคี การร่วมแรงร่วมใจของคนไทยทุก ๆ คน จากทุก ๆ ภาคส่วน เพื่อที่เราจะได้เห็นรอยยิ้มโดยไม่ต้องมีหน้ากากที่ห่างหายไปนานของคนเมืองยิ้ม เห็นความใกล้ชิดของคนในครอบครัว การนั่งกินข้าวร่วมโต๊ะของเพื่อนฝูง เห็นการไปโรงเรียนของเด็ก ๆ กลับมาอีกครั้งแต่เป็นในเวอร์ชัน #ประเทศไทยที่ดีกว่าเดิม
รู้ไว้ดีกว่า
ประเทศไทยมีห้องปฏิบัติการในการตรวจเชื้อ 80 แห่ง อยู่ในกรุงเทพและปริมณฑล 39 แห่ง ต่างจังหวัด 41 แห่ง
อยู่ในระหว่างเตรียมการอีก 30 แห่ง (ข้อมูล ณ วันที่ 7 เมษายน 2563)
ที่มา: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (โควิด-19) #BetterCountry #BetterThailand #BWi #BetterWorld #3Ps #NetPositiveImpact
Comentarios