top of page
Search

หลังจากการแพร่ระบาดอย่างหนักของ COVID-19

Updated: Jun 1, 2020



หลังจากการแพร่ระบาดอย่างหนักของ COVID-19 ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ต่างก็ปรับตัวกันขนานใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นในเชิงนโยบายของภาครัฐ เอกชน หรือแม้กระทั่งในเชิงพฤติกรรมของภาคประชาชน

แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระดับมหภาคนั้น ย่อมส่งผลกระทบอย่างมีนัยยะสำคัญต่อทั้งระบบนิเวศ และหนึ่งในองค์ประกอบหลักของระบบนิเวศที่ว่านั้นก็คือ “สิ่งแวดล้อม”

ขยะการแพทย์ หนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมที่หลายประเทศจะต้องเตรียมการรับมือ จากสถานการณ์นี้ อย่างเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน กำลังเผชิญกับปริมาณขยะทางการแพทย์กว่า 240 ตันต่อวัน ซึ่งมากกว่าในช่วงเวลาปกติถึง 5 เท่า ส่วนในไทยเองกรมควบคุมมลพิษระบุว่ามีขยะจากหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วเฉลี่ย 1-2 ล้านชิ้นต่อวัน คุณภาพอากาศ ด้วยมาตราการปิดเมือง ปิดประเทศในหลายประเทศ ไปจนถึงมาตรการกักตัว และการรณรงค์ไม่ให้ออกไปข้างนอกบ้านโดยไม่มีเหตุจำเป็น ทำให้ตัวเลขการปล่อยมลพิษบนท้องถนนในสหรัฐอเมริกาลดลงกว่า 50% ส่วนมลพิษทางอากาศ อย่างก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO₂ ) ที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน รวมไปถึงการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในยานพาหนะของประเทศจีนและประเทศในแถบยุโรปลดลงอย่างมากเมื่อดูจากภาพจากข้อมูลดาวเทียม The Connnpernicus Sentinel-5P Satellite โดย ESA คุณภาพน้ำ หลังจากระดับคุณภาพน้ำของเมืองเวนิสในอิตาลีอยู่ในเกณฑ์ที่น่าเป็นห่วง จากการสัญจรทางน้ำโดยเรือจำนวนกว่า 1,000 ลำ ต่อวัน เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่มีจำนวนมากถึง 26-30 ล้านคนต่อปี แต่เมื่ออิตาลีประกาศปิดประเทศ ​ตอนนี้ประชากรในเมืองเริ่มมีการส่งต่อภาพ​และวิดีโอให้เห็นถึงเมืองที่ไร้นักท่องเที่ยวและน้ำที่กลับมาใสอีกครั้ง สัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ นับเป็นข่าวดี ​ที่เมื่อไม่กี่วันมานี้หาดฮิซิคลูยา ในแถบชายฝั่งรัฐโอริสสา ประเทศอินเดีย มีเต่า Olive Ridley สัตว์ที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์กว่า 70,000 ตัว กลับมาวางไข่อีกครั้ง หลังจากที่ปีที่แล้วพวกมันไม่ได้มา จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เราจะเห็นผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมทั้งเชิงบวกและลบ ในขณะที่ขยะทางการแพทย์กำลังเพิ่มขึ้น คุณภาพอากาศและน้ำในหลาย ๆ ที่ก็กำลังฟื้นฟูตัวเอง เราอยู่ในระบบนิเวศที่ทุกอย่างเชื่อมโยงและส่งผลกระทบถึงกัน ไม่ทางใดก็ทางนึง เมื่อถึงวันที่การแพร่ระบาดของ COVID-19 สิ้นสุดลง เราจะยังคงรักษาผลกระทบเชิงบวกให้อยู่ไปได้อีกนานแค่ไหน และจัดการกับผลกระทบเชิงลบอย่างไร ก็คงเป็นคำตอบที่เกิดจากการร่วมมือกันของพวกเราทุกคน ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ BBC Business Insider Euronews European Space Agency Greenpeace South China Morning Post The Guardian ภาพ: South China Morning Post Olive Ridley Project #BWi #BetterWorld #3Ps #NetPositiveImpact #COVID2019 #Planet

91 views

Comments


bottom of page