top of page
Search
Writer's pictureBWi Official

ประเทศไทย กับ ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน



หนึ่งในหัวใจสำคัญของความสำเร็จ ในการพัฒนาที่ยั่งยืนก็คือ “ความร่วมมือ” ซึ่งประเทศไทยให้ความสำคัญกับการสร้างความร่วมมือ โดยเริ่มตั้งแต่…

การสร้างความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ ในประเทศ ผ่านการจัดตั้งคณะกรรมการภาครัฐและเอกชน หรือ กลไกประชารัฐเพื่อสังคม (Public-Private-People Partnership) เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ลดความเหลื่อมล้ำ พัฒนาคุณภาพคน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

ยกตัวอย่างการเพิ่มขีดความสามารถด้านการซื้อขายสินค้าทางการเกษตร ผ่านการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน โดยกองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ผ่าน “โครงการเน็ตประชารัฐ” ที่เกิดขึ้นจากการร่วมมือระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เพื่อยกระดับการพัฒนา และลดความ

เหลื่อมล้ำระหว่างเมืองและพื้นที่ทางไกล ทั้งสองโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลไกประชารัฐเพื่อสังคม ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน โดยมีภาครัฐเป็นผู้ให้การสนับสนุน

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังเชื่อว่าการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่แท้จริงนั้น จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อทุกประเทศพัฒนาไปด้วยกัน เราจึงได้เห็นการจับมือกันระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ เช่น โครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนระหว่างประเทศ โดยนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (SEP) มาถ่ายทอดให้กับประเทศอื่น ๆ ทั้งในมิติของเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม หรือการส่งเสริมการค้า และการลงทุนแบบพหุภาคีกับประเทศเพื่อนบ้าน (CLMV) ผ่านการแบ่งปันความรู้ในด้านต่าง ๆ เช่น การวางแผนและการจัดการการขนส่งและโลจิสติกส์อย่างยั่งยืน ตลอดจนการสร้างความน่าเชื่อถือในการพัฒนาทุนมนุษย์ และการพัฒนาความสามัคคี และการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ และภาคเอกชน

ความจริงแล้ว ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ เป้าหมายข้อที่ 17 ใน SDG นั้น ครอบคลุมประเด็นเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนทั้ง 16 ข้อ ไม่ว่าจะเป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม การเพิ่มขีดความสามารถทางการค้า ไปจนถึงการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในมิติต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยให้ประเทศไทยสามารถก้าวสู่สถานะที่ดีกว่า และสามารถบรรลุวิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศแห่งความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ได้อย่างที่ตั้งใจ

ที่มา :

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี

Thailand’s Voluntary National Review on the Implementation of the 2030 Agenda for Sustainable Development 2019

United Nations Thailand


194 views

Comentários


bottom of page