top of page
Search
Writer's pictureBWi Official

ประเทศไทย กับ การลดความเหลื่อมล้ำ



หากอ้างอิงตามธนาคารแห่งประเทศไทย ความเหลื่อมล้ำสามารถแบ่งได้เป็น 3 ด้าน คือด้านรายได้ ด้านความมั่งคั่ง และด้านโอกาสและคุณภาพชีวิต ในปี พ.ศ. 2561 จากข้อมูลในรายงาน World Economic Forum 2018 พบว่า ประเทศไทยติดอันดับประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำ ด้านความมั่งคั่งเป็นอันดับ 10 ของโลก แม้จะมีความพยายามในการค้นหาสาเหตุของปัญหามากมาย เช่น ครอบครัวที่ฐานะแตกต่างกัน ระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน หรือความยุติธรรมทางกฏหมายที่แตกต่างกัน


ประเทศไทยมีความพยายามในการลดความเหลื่อมล้ำ ผ่านการลดความไม่เท่าเทียมทางสังคม และจัดให้มีระบบสวัสดิการที่เหมาะสม โดยเฉพาะกับกลุ่มที่ยากจนที่สุด 40% ของประเทศ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ โครงการสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งมีคนลงทะเบียนไปแล้วกว่า 14.5 ล้านคน, มาตรการช่วยเหลือชุมชนเมืองตามนโยบายประชารัฐ โดยให้วงเงินสินเชื่อสำหรับการทำธุรกิจของตัวเอง และแบ่งเบาภาระหนี้ครัวเรือน, การส่งเสริมบัตรประจำตัวคนพิการทั่วประเทศ ซึ่งปัจจุบันครอบคลุมคนพิการกว่า 2 ล้านคน และโครงการเสริมสร้างคุณค่าภูมิปัญญาผู้สูงวัย ผ่านการสร้างโรงเรียนผู้สูงอายุ กว่า 167 แห่งทั่วประเทศ


หรือการเสริมสร้างความคุ้มครองทางสังคม โดยจัดให้มีการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ซึ่งมีผู้ผ่านการทดสอบจำนวน 19,885 คน, การกำกับดูแลธุรกิจและสนับสนุนการคุ้มครองสิทธิของแรงงาน, การบริหารจัดการระบบประกันสังคม และการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำรายวัน จาก 300 บาท เป็น 313-336 บาทต่อวัน (ตามเกณฑ์ของแต่ละจังหวัด)


คงยากที่จะตอบได้ว่าปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำจะสิ้นสุดลงเมื่อใด แต่ที่แน่นอนคือทุกคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหานี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการมองไปที่ความสามารถหรือตัวศักยภาพของบุคคล มากกว่าต้นทุนทางชีวิต การให้สิทธิขั้นพื้นฐานกับทุกคนอย่างเท่าเทียม และการยอมรับในความแตกต่างซึ่งกันและกัน เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่าของพวกเราทุกคน


ที่มา :

ธนาคารแห่งประเทศไทย

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)

World Economic Forum 2018

Thailand’s Voluntary National Review on the Implementation of the 2030 Agenda for Sustainable Development 2019






127 views

Comments


bottom of page