top of page
Search

ประเทศไทย กับ การเข้าถึงน้ำสะอาด และสุขาภิบาล

Updated: Jul 20, 2020


น้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตทุกชนิด แต่ปริมาณน้ำที่สามารถนำมาใช้เพื่ออุปโภค บริโภคได้ คิดเป็นเพียง 3 เปอร์เซ็นต์ของน้ำทั้งหมดที่มีอยู่บนโลกเท่านั้น ถึงแม้ว่าน้ำจะเป็นทรัพยากรหมุนเวียน และหลายคนอาจจะคิดว่าใช้น้ำยังไงก็ไม่มีวันหมด แต่การที่จะนำน้ำสะอาดกลับมาใช้ใหม่นั้นต้องผ่านกระบวนการมากมาย ที่มีต้นทุนทั้งด้านเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่าย

จากรายงาน The World Population Prospects 2019 คาดการณ์ว่าจำนวนประชากรโลกจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 9.7 พันล้านคนภายในปี 2050 ซึ่งก็แปรผันโดยตรงกับความต้องการการใช้น้ำที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการ จึงเป็นประเด็นที่ไม่สามารถมองข้ามได้สำหรับการก้าวไปสู่การเป็นประเทศที่ดีกว่า และในประเด็นนี้ ก็เป็นหนึ่งใน 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในด้าน “การเข้าถึงน้ำสะอาดและสุขาภิบาล” ด้วย ซึ่ง หมายถึงประเทศต้อง จัดหาน้ำสะอาด เพียงพอ และมีคุณภาพสำหรับ ภาคประชาชน ภาคอุตสาหกรรม และภาคการเกษตร ที่ครอบคลุมทั้งชุมชนเมืองและชนบท ด้วยราคาที่สมเหตุสมผล รวมถึงควรมีมาตรการรองรับปัญหา และฟื้นฟูระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับน้ำ เช่น การป้องกัน น้ำท่วม ผ่านแผนการจัดการเพื่อการระบายน้ำที่มีประสิทธิภาพ หรือการสร้างพื้นที่ชะลอน้ำ มีการปกป้องคุ้มครอง หรือบำรุงรักษาเพื่อสร้างความสมดุลของธรรมชาติ เช่น การฟื้นฟูป่าต้นน้ำ หรือการป้องกันป่าจากการถูกกัดเซาะ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีแผนงานและมาตรการต่าง ๆ รองรับ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบริหารจัดการน้ำก็ยังมีให้เห็นอยู่เรื่อย ๆ เนื่องจากสถานการณ์น้ำ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และทุกภาคส่วนก็ยังคงเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันให้ประเทศไทยสามารถ บรรลุเป้าหมายในด้านนี้และเดินหน้าสู่การเป็นประเทศที่ดีกว่าได้ ไม่ว่าจะเป็น การให้ความรู้กับสังคม การเฝ้าระวังติดตามปัญหาอย่างใกล้ชิดและครอบคลุมในทุกมิติ การให้ความสำคัญกับกระบวนการที่เกิดขึ้นจากภาคการผลิต ตั้งแต่การร่วมกันดูแลระบบนิเวศน้ำในชุมชน ไปจนถึงการบริหารจัดการการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ 

ที่มา: 

กรุงเทพธุรกิจ

ประชาชาติธุรกิจ

ไทยรัฐออนไลน์

Thailand’s Voluntary National Review on the Implementation of the 2030 Agenda for Sustainable Development 2019

The Standard



552 views

Comments


bottom of page