top of page
Search
Writer's pictureBWi Official

ทำอย่างไรองค์กรจะเปลี่ยน "วิกฤต" ให้เป็น "วิสัยทัศน์" ในการเติบโตเป็นองค์กรที่ดีกว่าได้

Updated: Jun 1, 2020




1. สร้างคนที่มีภาวะผู้นำ และส่งต่อภาวะผู้นำ ภาวะผู้นำของผู้ที่ก่อตั้งองค์กรเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่ความชัดเจนในหลักการ แนวทางการบริหาร และความสามารถในการส่งไม้ต่อจากรุ่นสู่รุ่น คือ สิ่งที่ทำให้องค์กรยังสามารถดำรงอยู่ และเติบโตเป็นองค์กรที่ดีกว่าได้ แม้ในช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่าน หรือต้องเผชิญกับวิกฤตใดก็ตาม



2. ให้ความสำคัญกับ “ใคร” มากกว่า “ตำแหน่ง” อะไร ในขณะที่องค์กรส่วนมากจะวุ่นวายอยู่กับการออกแบบโครงสร้างองค์กรที่ซับซ้อนและแบ่งแยก องค์กรที่จะเติบโตเป็นองค์กรที่ดีกว่านั้น จะมองไปที่ คน และการพัฒนาคน ให้ความสำคัญกับความสามารถของคน ๆ นั้น มากกว่าตำแหน่ง และให้คนที่ “ใช่” ทำงานที่ควรทำ โดยไม่สนว่าพวกเขาจะอยู่ในตำแหน่งอะไร


3. สื่อสารความจริง และเริ่มต้นจากตรงนั้น ในสภาวะเช่นนี้ ทุกองค์กรมีปัญหา ปัญหาจะเริ่มถูกแก้ก็ต่อเมื่อเรายอมรับปัญหาโดยไม่หวาดกลัวหรือยอมแพ้ การเข้าใจปัญหาที่แท้จริงจะช่วยกำหนดทิศทางและกระบวนการที่ถูกต้อง ด้วยทรัพยากรที่จำกัด การตัดสินใจว่าจะไม่ทำอะไรอาจจะสำคัญกว่าการตัดสินใจว่าจะทำอะไร

4. โฟกัสที่ความสามารถเพื่อพาธุรกิจก้าวสู่ Next Growth การที่คุณทำอะไรสักอย่างได้ดีมาตลอด อาจจะไม่ได้หมายความว่าคุณจะทำสิ่งนั้นได้ดีต่อไป ด้วยเงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอยู่ตลอด การยึดติด คือ สิ่งที่น่ากลัวที่สุด ในทางกลับกัน การกล้าที่จะก้าวข้ามจากความเคยชินไปสู่ Next Growth โดยการโฟกัสไปที่ความสามารถ (competency) ต่างหาก คือ สิ่งที่จะทำให้องค์กรก้าวสู่สถานะที่ดีกว่าได้

5. ทันสมัย ไม่เท่ากับ พัฒนา ก่อนที่จะเกิด COVID-19 เชื่อว่าหลายองค์กร กำลังพยายามทำ Digital Transformation มีองค์กรจำนวนมากทำ เพราะคนอื่นทำกัน มากกว่าที่จะทำ เพราะมันช่วยแก้ปัญหาหรือยกระดับบางอย่างแม้ว่าเทคโนโลยีจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้การจัดการมีประสิทธิภาพมากขึ้น อาจเป็นตัวเร่งที่ดี และทำให้องค์กรทันสมัย แต่การที่องค์กรจะพัฒนาสู่การเป็นองค์กรที่ดีกว่านั้น ไม่ได้แปลผันตรงต่อความทันสมัย การมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดจึงไม่ได้แปลว่าองค์กรจะพัฒนา หรือเป็นองค์กรที่ดีกว่าเสมอไป


6. ขับเคลื่อนด้วยวัฒนธรรม ไม่ใช่ “กฎเกณฑ์” องค์กรที่สร้างกฎเกณฑ์และเงื่อนไข ในการบริหารจัดการจำนวนมาก เพราะพวกเขาไม่เชื่อในผู้คน และต้องการสร้างสิ่งที่เรียกว่ามาตรฐาน แต่ความจริงก็คือมาตรฐาน ไม่ได้ช่วยให้เราสามารถต่อกรกับการเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดคิดได้ ตรงกันข้าม วัฒนธรรมต่างหากที่ช่วยได้ วัฒนธรรมแห่งความรับผิดชอบ จะเป็นรากฐานสำคัญที่ทำให้องค์กรที่ดีกว่าสามารถต่อยอดความสำเร็จได้ไม่รู้จบ สุดท้ายการจะเติบโตเป็นองค์กรที่ดีกว่า ไม่ใช่เพียงแค่การปฏิบัติตาม 6 ขั้นตอนนี้ในสภาวะวิกฤต แต่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้องค์กรก้าวสู่สถานะที่ “ดีกว่า” และพร้อมรับมือ ไม่ว่าในอนาคตจะต้องเจอกับความไม่แน่นอนสักแค่ไหนก็ตาม #BWi #BetterWorld #3Ps #NetPositiveImpact #BetterCorporate

110 views

Comments


bottom of page